top of page
ค้นหา

เตรียมตัวก่อนเข้า IPO – เกี่ยวกับการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน

  • รูปภาพนักเขียน: actuarialbiz actuarialbiz
    actuarialbiz actuarialbiz
  • 19 เม.ย. 2564
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 31 ม.ค.


เตรียมตัวก่อนเข้า IPO – เกี่ยวกับการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน
เตรียมตัวก่อนเข้า IPO – เกี่ยวกับการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน

บทความนี้เราจะมีพูดถึงการเตรียมตัวเข้า IPO ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การคำนวณผลประโยชน์พนักงาน กัน แต่ก่อนจะเริ่มเรื่องนั้น เรามาปูพื้นฐานกันก่อนว่า IPO ที่ว่านี้คืออะไร


ในวันที่กิจการต้องการเงินลงทุนเพิ่มเติม ก็มี 2 ทางเลือก คือ กู้เงินจากธนาคาร หรือ ระดมทุนโดยการขายหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งเป็นการเปิดให้ผู้ลงทุนคนอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมถือหุ้นกับเราในกิจการ และถ้ากิจการของเราใหญ่ในระดับหนึ่ง ก็จะสามารถเสนอขายหุ้นให้กับสาธารณะได้ และจะเรียกการขายหุ้นเพิ่มทุนส่วนนี้ว่าหุ้น IPO ซึ่งย่อมาจาก Initial Public Offering


ดังนั้น หากจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ การเข้า IPO ก็คือการเปลี่ยนจากการกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ เป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ


แน่นอนว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ กฎเกณฑ์อะไรหลาย ๆ อย่าง และสิ่งที่มองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือ เรื่อง การคำนวณผลประโยชน์พนักงาน ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 (TAS19) โดยเฉพาะผลประโยชน์ที่จ่ายให้พนักงานในวันที่พนักงานเกษียณอายุ ซึ่งเป็นต้นทุนแฝงของบริษัท เพราะเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในอนาคต ยิ่งประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ผลประโยชน์พนักงานนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับระเบิดเวลา


การคำนวณผลประโยชน์พนักงาน มาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs)
เตรียมตัวก่อนเข้า IPO – เกี่ยวกับการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน

การคำนวณผลประโยชน์พนักงาน จากเดิมที่กิจการอาจจะรับรู้ในเรื่องภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ตามมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) ซึ่งระบุให้ต้องประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นด้วยวิธีการประมาณการที่ดีที่สุด ซึ่งไม่ได้กำหนดวิธีการคำนวณไว้แน่นอน หรือพูดตามตรงคือ วิธีอะไรก็ได้ที่ผู้สอบบัญชีมองว่าสมเหตุสมผล


แต่เมื่อกิจการได้เข้า IPO กิจการก็ต้องเปลี่ยนไปบันทึกบัญชี ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for PAEs) โดย 1 ในมาตรฐานชุดนี้ คือมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับที่ 19 (TAS19) หรือก็คือเรื่องของการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน ซึ่งสนับสนุนให้คำนวณภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งจะมีความซับซ้อนกว่ามาก


ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน หรือเปลี่ยนแปลงวิธีในการคำนวณนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะส่งผลให้ภาระผูกพัน และค่าใช้จ่ายที่กระทบกับงบกำไรขาดทุนของบริษัทในแต่ละปี จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะมีการเพิ่มสมมติฐานบางอย่างเข้ามา


สุดท้ายแล้วกำไรขาดทุนของบริษัทก็จะมีความผันผวนไปจากเดิมมาก ดังนั้นกิจการก็ควรที่จะเตรียมตัวในขั้นตอนของการจัดจ้างคำนวณผลประโยชน์พนักงานตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 ปี เพราะหากต้องการให้กำไรของบริษัทสม่ำเสมอไม่กระโดดขึ้น ๆ ลง ๆ การคำนวณผลประโยชน์พนักงานก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน


เตรียมตัวก่อนเข้า IPO – เกี่ยวกับการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน
เตรียมตัวก่อนเข้า IPO – เกี่ยวกับการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน

จากภาพด้านบน เป็นกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตจาก การจ่ายเงินชดเชยผลประโยชน์พนักงาน ซึ่งถ้าบริษัทไม่ได้มีการสำรองเงินในส่วนนี้ไว้ก่อน เงินส่วนนี้ก็จะกระทบกับงบกำไรขาดทุนของบริษัททันที และอาจทำให้บริษัทขาดทุน หรือยิ่งไปกว่านั้น อาจทำให้บริษัทล้มละลายได้เช่นกัน และเมื่อคำนวณตามมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับที่ 19 (TAS19) แล้ว ต้องทำจริงจัง และทำให้ถูกต้อง ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องใช้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจจะได้ผลของการคำนวณผลประโยชน์พนักงานที่ผิดพลาด แล้วไปเกิดปัญหาในวันที่จะเข้า IPO นั่นเอง


#คำนวณผลประโยชน์พนักงาน #มาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่19


 

เขียนโดย อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน)

FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)


ขอสงวนสิทธิ์ของเนื้อหาในบทความ ไม่ให้นำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากทางบริษัท ABS เท่านั้น

Comments


bottom of page